วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555


แตงโมคุณภาพคืออย่างไร
                  ผมมีโอกาสได้ไปเยี่ยมกลุ่มผู้ปลูกแตงโมคุณภาพ  อำเภอศรีสงคราม  จังหวัดนครพนม  ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และเยี่ยมชมกิจกรรมของกลุ่ม  ทำให้ผมได้รู้และน่าทึ่งมากในการจัดการความรู้ของกลุ่ม  จึงอยากจะเล่าให้ท่านได้รู้จัก  กลุ่มผู้ปลูกแตงโมคุณภาพเขาจัดการความรู้ในกลุ่มอย่างไร  แตงโมคุณภาพของเขาคืออย่างไร  ซึ่งมีองค์ความรู้ในการบริหารจัดการอย่างเยี่ยมยอด      คุณเตือนใจ  บุพศิริ  ประธานกลุ่มผู้ปลูกแตงโมคุณภาพ  อำเภอศรีสงคราม  จังหวัดนครพนม  เป็นเกษตรกรดีเด่นสาขาทำสวน  เมื่อปี  2548  และได้รับทุนไปศึกษาดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น       พึ่งกลับมาได้  1  สัปดาห์  เล่าให้คณะของเราฟังว่า  ครั้งแรกตั้งกลุ่มเมื่อปี  2536  มีสมาชิกประมาณ  10  คน  มีพื้นที่ปลูกแตงโมประมาณ  100  ไร่  เท่านั้น  ปัจจุบันมีสมาชิกประมาณ  200  คน พื้นที่ปลูกแตงโม  4,000 ไร่ 
การบริหารจัดการกลุ่ม                               
     เมื่อกลุ่มมีสมาชิกมากขึ้น  กลุ่มโตขึ้นใหญ่ขึ้น  การปฏิบัติงานมีความซับซ้อนมากขึ้น      ทำให้การบริหารจัดการยุ่งยากมากขึ้น จึงมีการแบ่งกลุ่มย่อยออกเป็น  15  กลุ่มย่อย  แต่ละกลุ่มมีสมาชิกประมาณ  10 – 15  คน  ให้มีหัวหน้ากลุ่มย่อย  กลุ่มละ  1  คน  โดยให้มีการประชุมกลุ่มย่อยกันทุกสัปดาห์  เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันในเครือข่ายจะมีการถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกันในช่วงการปลูกที่มีความเสี่ยงสูง  5  ระยะ  ดังนี้   
                          1.  ช่วงการย้ายกล้าปลูก         
                         2.  ช่วงก่อนผสมเกสร                      
                         3.  ช่วง  1  สัปดาห์ก่อนไว้ลูก                  
                        4.  ช่วงหลังติดลูก  1  สัปดาห์                     
                        5.  ช่วงเริ่มติดลูก  20  วัน                         
       ในช่วงความเสี่ยงสูง  5  ระยะดังกล่าวจะให้สมาชิกเรียนรู้ซึ่งกันและกันอย่างใกล้ชิด  สมาชิกในกลุ่มทุกคนจะเกิดการแลกเปลี่ยนอย่างใกล้ชิดต่อเนื่องสม่ำเสมอ  สมาชิกทุกคนจะมีส่วนร่วมในการวางแผนการผลิต  เช่น  การกำหนดวันปลูก  จะมีการจับสลากว่าใครจะได้ปลูกในช่วงใด  ก็จะเริ่มปลูกตามปฏิทินที่จับสลากได้และผลผลิตที่ออกมาก็จะตรงกับความต้องการของลูกค้า ไม่มีปัญหาในเรื่องแตงโมล้นตลาด  เพราะกลุ่มนี้จะใช้หลัก  “การตลาดนำการผลิต”  มีโควตาแน่นอนชัดเจน  เมื่อเสร็จสิ้นฤดูการปลูกจะมีการประชุมทบทวนสรุปบทเรียนกันทุกครั้ง  ว่าแปลงใดได้ผลดีที่สุด  ใช้เทคนิคอย่างไร  ควรจะทำอย่างไรจึงจะดีที่สุด  มีคุณภาพมากที่สุด  ได้เทคนิคอะไรใหม่บ้าง  แล้วจะนำไปปฏิบัติในฤดูกาลผลิตต่อไป  คุณเตือนใจได้ให้ข้อคิดว่า  “การสิ้นสุดคือการเริ่มต้นใหม่เสมอ” 
เทคนิคการผลิตแตงโมคุณภาพ
        คำว่า  “คุณภาพ”  ของกลุ่มนี้  คือ  เป็นไปตามความต้องการของลูกค้า  ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค  ความสุขของลูกค้า  สิ่งเหล่านี้คือเป้าหมายของผลผลิต  ดังนั้น  การจะผลิตให้ได้คุณภาพดังกล่าวต้องเริ่มต้นตั้งแต่การเตรียมดิน  การปลูก  การดูแลรักษา  การตรวจสอบรับรองคุณภาพของกรมวิชาการ-เกษตร  ซึ่งกระบวนการผลิตดังกล่าวมีเทคนิคที่น่าสนใจมากมาย  จะขอนำเทคนิคที่ใหม่ ๆ  เล่าให้ท่านทราบดังนี้
1. การเพาะกล้าแตงโม 
          การปลูกแตงโมแบบดั้งเดิมปลูกโดยหยอดเมล็ดลงหลุม  หลุมละ 2-3 เมล็ด ซึ่งทำให้เปลืองเมล็ดพันธุ์  และเสี่ยงต่อการทำลายของแมลงปากกัด  และโรคที่เกิดจากเชื้อรา  อีกทั้งทำให้การเจริญเติบโตของแตงโมแต่ละหลุมไม่พร้อมกัน  ยากต่อการปฏิบัติดูแลรักษาและไม่ประสบผลสำเร็จในการปลูกแตงโมช่วงฤดูฝนของจังหวัดนครพนม  ซึ่งฝนตกชุกมาก  กลุ่มผู้ปลูกแตงโม อำเภอศรีสงคราม จึงคิดแก้ไขปัญหา  เพื่อลดการสิ้นเปลืองของเมล็ดพันธุ์ที่มีราคาแพง  ได้ต้นกล้าที่แข็งแรง  สม่ำเสมอ ปลอดจากเชื้อรา และพร้อมที่จะลงแปลงปลูก               
           การเตรียมเมล็ดพันธ์แตงโม โดยแช่น้ำอุ่น 4-6 ชั่วโมง  ล้างให้สะอาด ซับด้วยผ้าขนหนูให้พอหมาด วัสดุเพาะเมล็ดใช้กระดาษทิชชูแผ่นใหญ่  วางซ้อนทับ 3 ชั้น  พรมน้ำพอหมาด ๆ  แล้ววางเมล็ดแตงโม 1,000-1,500 เมล็ดลงกลางกระดาษ  พับห่อเป็นชุดๆ ตามปริมาณการใช้และนำผ้าขนหนูที่สะอาด ชุบน้ำบิดหมาดห่อเมล็ดแตงโมอีกชั้นหนึ่ง  และเตรียมกระติกน้ำแข็งที่ปรับสภาพให้มีความอบอุ่นโดยการใช้น้ำร้อนเทใส่กระติกทิ้งไว้  10 นาทีแล้วเทน้ำออก  จากนั้นนำห่อเมล็ดแตงโมใส่กระติก ปิดฝาให้สนิท  ทิ้งไว้ 48-50 ชั่วโมง เมล็ดก็จะเริ่มงอก               
         การเตรียมถุงเพาะกล้า  ใช้ถุงใสขนาด 3 x 4 ซ.ม. กรอกด้วยดินปลูกซึ่งมีส่วนผสมของ หน้าดินป่าน้ำไม่ขัง: แกลบเผา: ปุ๋ยคอกเก่าค้างปี:  อัตรา 7:2:1   ปรับสภาพดินปลูกด้วย ปูนขาว 1 กก. และเพิ่มธาตุอาหารด้วย ปุ๋ยสูตร 15-15-15 บดละเอียด 100 กรัม ต่อดินปลูก 100 กก.  ก่อนจะผสมดินปลูก หน้าดินป่าถ้าเปียกต้องผึ่งในร่มให้หมาดหรือแห้ง  กรอกดินปลูกลงถุงเพาะกล้าทิ้งไว้อย่างน้อย 3 วัน เพื่อลดความเป็นพิษ  คลุมด้วยผ้าพลาสติกไม่ให้ดินเปียกฝนก่อนหยอดเมล็ด               
       การหยอดเมล็ดแตงโม เริ่มจากรดน้ำถุงเพาะด้วยบัวฝอยให้น้ำซึมลงครึ่งถุง  ใช้ไม้เจาะดินและหยอดเมล็ดแตงโมที่เริ่มงอก โรยปิดทับด้วยดินบาง ๆ  แล้วรดน้ำให้ชุ่ม  ในช่วงกลางคืน 2 คืนแรกให้คลุมถุงเพาะด้วยพลาสติกเพื่อรักษาอุณหภูมิในดินให้อุ่น เมล็ดแตงโมจะงอกได้ดี  ทำโครงไม้พร้อมที่จะคลุมด้วยพลาสติคเพื่อป้องกันฝน  ดูแล รดน้ำจนกระทั่งอายุ 12-15 วัน ก็จะได้กล้าแตงไมที่แข็งแรง สม่ำเสมอพร้อมลงปลูกแปลงได้
2. การใช้นมสดป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟในแตงโม                               
  เพลี้ยไฟเป็นศัตรูที่สำคัญของแตงโม  สามารถทำลายแตงโตตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว  ถ้าระบาดรุนแรงแตงโมจะชงักการเจริญเติบโต  ยอดตั้ง  ได้ผลผลิตน้อย  ทำให้ประสบปัญหาการขาดทุน  กลุ่มผู้ปลูกแตงโมอำเภอศรีสงคราม  เดิมเมื่อพบการระบาดของเพลี้ยไฟต้องใช้สารเคมี  ฉีดพ่นเพื่อป้องกันกำจัด  ซึ่งมีปัญหาในเรื่องสารเคมีราคาแพง  เป็นอันตรายต่อผู้พ่นและอาจมีสารพิษตกค้างในผลผลิต  จากการบอกเล่าต่อ ๆ  กันมา  การใช้นมสดผสมน้ำฉีดพ่นแตงโมสามารถป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟได้  กลุ่มจึงทดลองใช้  ซึ่งก็ได้ผล  สามารถลดการระบาดของเพลี้ยไฟได้เป็นอย่างดี                          
      วิธีการใช้นมสดผสมน้ำทำได้โดยใช้นมสดชนิดจืดพลาสตเจอร์ไรด์  1  ลิตร  ผสมน้ำ  100 – 200  ลิตร  เพื่อป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ  โดยฉีดพ่นครั้งแรกหลังจากปลูกแตงโมได้  30  วัน  และครั้งที่  2    อายุ  40  วัน  จะช่วยลดการระบาดของเพลี้ยไฟ  และเป็นการให้ธาตุอาหารเสริมโดยเฉพาะแคลเซียมแก่แตงโม  จากวิธีการดังกล่าวสันนิษฐานว่า ขณะที่ฉีดพ่นเพลี้ยไฟจะบินขึ้นทำให้น้ำนมถูกปีกเพลี้ยไฟ  จะทำให้ปีกเหนียว  ขยับตัวลำบาก  บินไม่ได้  ขยายพันธุ์ไม่ได้และจะตายในที่สุด  จึงลดการระบาดของเพลี้ยไฟได้เป็นอย่างดี
3. การใช้ถุงแกลบป้องกันเสี้ยนดินในการปลูกแตงโม                          
       เสี้ยนดินเป็นแมลงศัตรูแตงโม  มักเข้าทำลายในช่วงลูกแตงโมเริ่มสะสมน้ำตาลหรือหลังจากติดลูกแล้ว  ประมาณ  20  วัน จนถึงเก็บเกี่ยว โดยการเจาะกินตรงจุดที่สัมผัสกับผิวดิน ทำให้ผลผลิตเน่าเสียหาย เป็นปัญหาที่พบมากที่สุดกับการปลูกแตงโมในที่ดอน การใช้สารเคมีป้องกัน กำจัด ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง เกิดสารพิษตกค้างในผลผลิตเพราะอยู่ในระยะเก็บผลผลิต    กลุ่มผู้ปลูกแตงโมอำเภอศรีสงคราม  คิดแก้ไขปัญหา  โดยรู้ในหลักการแล้วว่าลูกแตงโมต้องลอยห่างจากพื้นดิน  ซึ่งเสี้ยนดินจะทำลายไม่ได้  โดยการปรับใช้วัสดุ อุปกรณ์ในพื้นที่  ในระยะแรกใช้กิ่งไม้  2  ถ่อน วางใต้ลูกแตงโม   ก็แก้ไขปัญหาจากเสี้ยนดินได้บาง  แต่ก็มีปัญหาเรื่องการตัดไม้  ลูกแตงโมตกจากกิ่งไม้เพราะท่อนไม้ยุบลงดิน  ทดลองใช้กล่องโฟมใส่อาหารวางรองก็แก้ไขปัญหาได้แต่ต้นทุนการผลิตจะสูง   และพบว่าการใช้แกลบดิบใส่ถุงพลาสติกวางรองลูกแตงโม  สามารถป้องกันเสี้ยนดินไม่ให้เข้าทำลายแตงโมได้ดีและเหมาะสมที่สุด  ต้นทุนการผลิตต่ำ วัสดุหาได้ง่ายในพื้นที่  จึงแนะนำให้สมาชิกกลุ่มใช้ถุงแกลบรองลูกแตงโมเพื่อป้องกันเสี้ยนดินมาจนถึงปัจจุบัน
               วิธีการทำถุงแกลบป้องกันเสี้ยนดินก็ทำง่าย  เพียงใช้แกลบดิบใส่ถุงหูหิ้ว  ขนาด  6x11  นิ้ว  ให้มีความหนาอัดแน่นไม่ต่ำกว่า  3  ซ.ม.  มัดปากให้แน่น  วางคว่ำปากถุงลงดิน ยกลูกแตงโมวางขวางตะเข็บก้นถุง  ซึ่งแตงโมจะเจริญเติบโตต่อไปและไม่ตกจากถุง  จากการสังเกตเสี้ยนดินเจาะถุงพลาสติกเพื่อจะขึ้นมาหาลูกแตงโมบ้าง  แต่ไม่ถึงลูกแตงโม  สันนิษฐานว่า  แกลบดิบมีความสากและความคมอาจมีผลต่อการกัดและระคายผิวของตัวเสี้ยนดิน
4. การรักษาคุณภาพแตงโม         
            ปัญหาเรื่องคุณภาพแตงโมไม่ได้มาตรฐาน ไส้ล้ม สีไม่สวย เนื้อไม่หวาน  ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ของการตลาดแตงโม  เพราะถ้าผิดพลาดเพียงครั้งเดียว อาจทำให้เสียตลาดและความเชื่อถือของลูกค้าได้  กลุ่มผู้ปลูกแตงโม อำเภอศรีสงคราม  มีวิธีการรักษาคุณภาพแตงโมให้ได้มาตรฐานอยู่เสมอ  โดยมีการตรวจสอบคุณภาพของแตงโมทุกแปลงก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิตจำหน่าย  เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด
                การรักษาคุณภาพแตงโมให้คงสภาพสวย สด ได้ถึง 15 วัน  และสามารถเก็บรักษาได้ยาวนานถึง 3 เดือนนั้น  ทุกขั้นตอนการผลิตต้องปฏิบัติอย่างจริงจัง เอาใจใส่  มีความละเอียด  เริ่มตั้งแต่การเตรียมดินจนถึงเก็บเกี่ยว  โดยเฉพาะความสมดุลของน้ำและธาตุอาหาร จะทำให้แตงโมเจริญเติบโตสมบูรณ์ มีความแข็งแรง ผลผลิตก็มีคุณภาพและเก็บรักษาได้ยาวนาน  และเทคนิคการปฏิบัติในระยะการเก็บเกี่ยวเป็นอีกวิธีที่มีผลต่อการรักษาคุณภาพแตงโม  ได้แก่ งดการให้น้ำก่อนเก็บเกี่ยว 3-5 วัน  เก็บผลผลิตช่วงเช้าขณะอากาศเย็น และตัดให้มีขั้วติดผลให้ยาวที่สุด  รวมทั้งลดการกระแทกขณะขนย้าย วางกองสูงไม่เกิน 3 ชั้นบนพื้นแห้ง อากาศถ่ายเทได้ดี ป้องกันแดดและฝน ตลอดจนขนส่งผลผลิตในเวลากลางคืน
             นอกจากเทคนิคสำคัญ  4  อย่าง  ที่เล่ามาข้างต้นนี้  ยังมีเทคนิคปลีกย่อยอีกบางประการในการผลิตแตงโมคุณภาพของกลุ่มหากท่านต้องการรายละเอียด  เพิ่มเติมสามารถสอบได้โดยตรงกับ           คุณเตือนใจ  บุพศิริ  บ้านเลขที่  24  หมู่ที่ 9  ตำบลนาคำ  อำเภอศรีสงคราม  จังหวัดนครพนม  โทรศัพท์    08-1739-3279  คุณเตือนใจ  ยินดีแลกเปลี่ยนรู้  เท่าที่สังเกตคุณเตือนใจเป็นคนที่แสวงหาโอกาสในการเรียนรู้  และจะฉวยโอกาสทันทีเมื่อมีโอกาส  แตงโมคุณภาพของกลุ่มคุณเตือนใจ  นอกจากจะได้การรับรองคุณภาพจากกรมวิชาการเกษตรแล้ว  ยังได้รับการยืนยันจากท่านพ่อเมืองจังหวัดนครพนม  (นายนิคม       เกิดขันหมาก)  ว่ามั่นใจในคุณภาพจริง ๆ  ปลอดภัยจากสารพิษ  รสชาติดีมาก  จึงทำให้ท่านเกษตรจังหวัดนครพนม  (นายสุทธิชัย  ยุทธเกษมสันต์) ต้องออกเยี่ยมกลุ่มให้คำปรึกษาแนะนำกลุ่มนี้อยู่เป็นประจำทุกเดือน                            
           ผมให้ข้อมูลตอนท้ายด้วยว่า  คุณเตือนใจเป็นหญิงแกร่ง  เป็นคนที่มีการจัดการความรู้       ดีมาก  เขาให้ข้อคิดว่า  การมีความรู้จะเกิดประโยชน์ก็ต่อเมื่อนำความรู้ไปบริหารจัดการ  จึงจะเกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง  ยอมรับจริง ๆ  เพราะนอกจากทำแตงโมแล้ว ยังมีสวนยางพารา  สวนส้มเขียวหวาน  ส้มโอ  น้อยหน่า  แถมยังโสดอีกต่างหาก


ที่มา : gotoknow.orggotoknow.org


Smiley น้ำแตงโม Smiley

ส่วนผสม

- เนื้อแตงโม 50 กรัม(5 ช้อนคาว)
- น้ำเชื่อม 15 กรัม(1 ช้อนคาว)
- เกลือป่นเสริมไอโอดีน 1 กรัม(1/5 ช้อนชา)
- น้ำเปล่าต้มสุก 150 กรัม(10 ช้อนคาว)

วิธีทำ

นำเนื้อแตงโม น้ำ น้ำเชื่อม เกลือ ใส่ในเครื่องปั่น นำไปปั่นให้ละเอียด ชิมรสตามชอบ

ประโยชน์ที่ร่างกายได้รับ

คุณค่าทางอาหาร  :  มีวิตามินเอช่วยบำรุงสายตาและวิตามินซีช่วยป้องกันเลือดออกตามไรฟัน
คุณค่าทางยา  :  ช่วยขับปัสสาวะ ปากเป็นแผล แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ



ที่มา : kusolsuksa.comkusolsuksa.com


เทคนิคการปลูกแตงโม

 เทคนิคการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตในแตงโม
1.    พันธุ์แตงโม
ที่นิยมปลูกมี 2 พันธุ์ คือ
    พันธุ์เบา ที่รู้จักกันโดยทั่วไป คือ พันธุ์ชูการ์เบบี้ ผลกลมสีเขียวคล้ำ อายุเก็บเกี่ยว 65 วัน นับจากวันงอก อีกพันธุ์หนึ่ง ได้แก่
    พันธุ์หนัก คือ พันธุ์ชาร์ลสตันเกรย์ ผลสีเขียวอ่อน มีลายที่ผิวผล ผลกลมยาวขนาดใหญ่ อายุเก็บเกี่ยว 85 วัน นับจากวันงอก
    พันธุ์แตงโมเหลือง เป็นพันธุ์ลูกผสม เนื้อสีเหลือง ผลกลมสีเขียวอ่อนลายเขียวเข้ม อายุเก็บเกี่ยวประมาณ70-75 วัน
2.    ดินและการเตรียมดิน
    แตงโมเป็นพืชที่หยั่งรากลึกมากกว่า 100 เซนติเมตร และต้องการดินที่อุดมสมบูรณ์ มีความชุ่มชื้นมากพอ ฉะนั้นถ้ามีการไถพรวนหรือขุดย่อยดินให้มีหน้าดินร่วนโปร่ง และลึกก็จะช่วยป้องกันการขาดน้ำได้เป็นอย่างดีในระยะที่ต้นแตงโมกำลังเจริญเติบโต การเตรียมดินให้หน้าดินลึกร่วนโปร่งจะช่วยทำให้ดินนั้นยึดและอุ้มความชื้นได้มากขึ้น และเป็นทางเปิดให้รากแตงโมแทรกตัวเองลึกลงไปใต้ดินซึ่งจะช่วยให้รากหาอาหารและน้ำได้กว้างไกลยิ่งขึ้นและเป็นการช่วยทำให้พืชสามารถใช้น้ำใต้ดินมาเป็นประโยชน์ได้อย่างดีอีกด้วย ถ้าจำเป็นต้องปลูกแตงโมในหน้าฝน ควรเลือกปลูกในดินที่มีการระบายน้ำดี คือ เป็นดินเบา หรือดินทราย แต่ถ้ามีที่ปลูกเป็นดินหนักหรือค่อนข้างหนักควรปลูกแตงโมในหน้าแล้ง และขุดดิน หรือไถดินให้ลึกมากที่สุดจะเหมาะกว่า
3.   การปลูก
    ใช้เมล็ดพันธุ์ชูการ์เบบี้ อัตรา 40-50 กรัม/ไร่ เมล็ดพันธุ์ชาร์ลสตันเกรย์ และพันธุ์เหลือง อัตรา 250-500กรัม/ไร่ โดยหยอดเป็นหลุมให้แต่ละหลุมในแถวห่างกัน 90 เซนติเมตร ส่วนแถวของแตงนั้นควรให้ห่างจากกันเท่ากับความยาวของเถาแตงโม หรือประมาณ 2-3 เมตร ในดินทรายขุดหลุมให้มีความกว้างยาวประมาณ 50เซนติเมตร ลึกประมาณ 15 เซนติเมตร ส่วนในดินเหนียวขุดหลุมให้ลึกประมาณ 10 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกที่ละเอียดคลุกเคล้ากับดินบน ใส่รองก้นหลุม ๆ ละ 4-5 ลิตร เตรียมหลุมทิ้งไว้ วัน แล้วจึงลงมือปลูก หยอดหลุมละ เมล็ด
เมื่อหยอดเมล็ดแล้วต้องรดน้ำให้ชุ่มเมื่อแตงโมขึ้นมา มีใบจริง 2-3 ใบ ถอนแยกให้เหลือหลุมละ 2-3ต้น โดยคัดเลือกเอาแต่ต้นแข็งแรงไว้ แต่ถ้าปลูกให้ต้นห่างกัน 90 เซนติเมตร และแถวห่างกัน เมตรแล้ว ก็เหลือหลุมละ ต้นได้ รวมแล้วในเนื้อที่ ไร่ จะมีต้นแตงโมอยู่ประมาณ 1,700 ต้น
 
สำหรับผู้ที่หยอดเมล็ดแตงโมในฤดูหนาว แตงโมงอกช้า หรือไม่งอกเลย ดังนั้นในฤดูหนาวควรทำการหุ้มเมล็ดด้วยผ้าแล้วโดยแช่เมล็ดแตงโมในน้ำอุ่น(ประมาณมือเราทนได้) ทิ้งไว้ วันกับ คืน แล้วเอาผ้าที่ห่อวางไว้ในร่ม จะช่วยทำให้เมล็ดแตงโมงอกได้เร็วขึ้น และงอกได้อย่างสม่ำเสมอ เมื่อรากเริ่มโผล่ออกมาจากเมล็ด ก็เอาไปเพาะในถุง รอจนกล้ามีใบจริงแล้ว 2-3 ใบ จึงนำลงปลูกในไร่ หรือหากไม่สะดวกเพราะต้องการประหยัดแรงงาน ก็อาจนำเมล็ดที่งอกนั้นไปปลูกในแปลงได้เลย โดยหยอดลงในหลุมแบบเดียวกับหยอดเมล็ดที่ยังไม่งอก แต่ต้องให้น้ำในหลุมที่จะหยอดล่วงหน้าไว้ วัน เพื่อให้ดินในหลุมชื้นพอเหมาะ หยอดเมล็ดที่งอกแล้วกลบดินทับหนาไม่เกิน เซนติเมตร แล้วรดน้ำ ต้นแตงโมจะขึ้นมาสม่ำเสมอกันทั้งไร่ 
ปุ๋ยอินทรีย์ การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ให้แก่แตงโมก็มีความสำคัญมาก เพราะปุ๋ยจะช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุ,ช่วยลดการสูญเสียและลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้กว่า 50% และยังทำให้ดินมีธาตุอาหารมากขึ้น โดยในช่วงเตรียมดินควรใส่ปุ๋ยอินทรย์แท้ เกรด AAA ยักษ์เขียว สูตร (แถบเขียว)ในพื้นที่ปลูกจริง อัตราไร่ละ 40-50 กิโลกรัม
ปุ๋ยวิทยาศาสตร์หรือปุ๋ยเคมี ควรใช้ปุ๋ยเคมีอัตราส่วน 1 : 1 : 2 ซึ่งได้แก่ปุ๋ยเคมี สูตร 10-10-20 เป็นต้น หรือใช้ปุ๋ยสูตรใกล้เคียงได้ เช่น ปุ๋ยสูตร 13-13-21 โดยปกติอาจต้องใส่ในอัตราไร่ละ 100-150 กิโลกรัมต่อรอบการปลูก แต่สามารถใช้เทคนิคการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ด้วยการใช้ อินทรีย์แท้ เกรด AAA ยักษ์เขียว สูตร (แถบเขียว) ผสมก่อนหว่านในอัตรา ยักษ์เขียว 2 ส่วน ปุ๋ยเคมี ส่วน สามารถลดต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีลงได้ การใช้ปุ๋ยเคมีจะลดลงเหลือประมาณ 30-40 กิโลกรัมต่อรอบการปลูก  
การใส่ปุ๋ย
ตาราง แสดงการใส่ปุ๋ย ตามความต้องการธาตุอาหารตามธรรมชาติของแตงโม
ชนิดปุ๋ย
ปุ๋ยใส่รองพื้น
(กก./ไร่)
ปุ๋ยที่ใส่เสริมภายหลังจากการเจริญเติบโต
รวมปริมาณ
ปุ๋ยทั้งหมด
(กก./ไร่)
ใส่ครั้งที่ 1
(กก./ไร่)
ใส่ครั้งที่ 2
(กก./ไร่)
ใส่ครั้งที่ 3
(กก./ไร่)
ปุ๋ยยักษ์เขียว
40
8
12
32
92
ปุ๋ยยูเรีย
46-0-0
 
4
6
 
10
ปุ๋ยเคมี
13-13-21
 
-
6
16
22

การใส่ปุ๋ยตามตารางใช้ปุ๋ยข้างบนนี้ เป็นการใส่ปุ๋ยให้ต้นแตงโมตามระยะเวลาที่ต้นแตงโมต้องการใช้ ซึ่งจะพอเหมาะ
พอดี ไม่มากหรือน้อยเกินไป  อาจปรับเพิ่ม-ลด ตามสภาพพื้นดินและสภาพพื้นที่เล็กน้อย
การใส่ปุ๋ยหลังปลูก
การใส่ปุ๋ยเสริมครั้งที่ ใส่แบบโรยรอบต้นด้วยยูเรีย ใส่เมื่อต้นแตงโมมีใบจริงประมาณ ใบ (ปุ๋ยยักษ์เขียว 2 ส่วน + ยูเรีย 1 ส่วน ผสมโรยที่ผิวดินต้นละ 1-2 ช้อนชา)
การใส่ปุ๋ยเสริมครั้งที่ ใส่ปุ๋ย(ปุ๋ยยักษ์เขียว 2 ส่วน + ยูเรีย 1 ส่วน + 13-13-21 2 ส่วน ผสมโรยที่ผิวดินต้นละ 2-3 ช้อนชา)ด้านข้างแถวของต้นแตงโมใส่เมื่อเถาแตงโมทอดยาวได้ประมาณ ฟุต
การใส่ปุ๋ยเสริมครั้งที่ ใส่ปุ๋ย(ปุ๋ยยักษ์เขียว 2 ส่วน + เคมี สูตร 13-13-21 = 1 ส่วน ผสมโรยที่ผิวดินต้นละ 2-3 ช้อนชา) โดยใส่ด้านข้างแถวของต้นแตงโม ใส่เมื่อเถาแตงโมมีความยาวได้ประมาณ ฟุต หรือประมาณ 90 เซนติเมตร (ปุ๋ยทั้งสองชนิดนี้โรยบนผิวดินได้)
การให้ปุ๋ยทางใบ
ช่วงต้นเจริญเติบโต ใช้ ปุ๋ยและฮอร์โมนธรรมชาติ ไบโอเฟอร์ทิล สูตรไล่แมลง  อัตรา 30 ซีซีต่อน้ำ 20ลิตร เริ่มฉีดพ่นครั้งแรกหลังแตงโมมีใบจริง ประมาณ 4-5 ใบ ระยะเวลาทุก ๆ 7-10 วัน  ต่อเนื่อง ช่วยทำให้ต้นเจริญเติบโตได้ดี , ทำให้ต้นโตเร็ว ติดดอกมาก,ช่วยให้ขั้วเหนียวและช่วยขับไล่แมลง กลุ่ม แมลงเต่าแตง, ผีเสื้อวางไข่, แมลงวันทอง ได้ดี ลดต้นทุนการใช้สารเคมี(ยาฆ่าแมลง) ลงได้อีก ประมาณ 50% 
ช่วงติดผล ผลเจริญเติบโต  ใช้ ปุ๋ยและฮอร์โมนธรรมชาติ ไบโอเฟอร์ทิล สูตรเร่งขนาดผล  อัตรา 30ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร เริ่มฉีดพ่นครั้งแรกหลังจากปลิดผล ที่เสียออกแล้ว  โดยฉีดพ่นทุก ๆ วัน
การให้น้ำ
ตามธรรมชาติต้นแตงโมต้องการผิวดินชุ่มชื้น แต่ไม่ถึงกับแฉะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนที่ผลแตงโมกำลังเจริญเติบโต เป็นตอนที่ต้นแตงโมต้องการน้ำมากการให้ความชุ่มชื้นแก่ดินในแปลงควรให้ทั้งแปลงเพื่อป้องกันไม่ให้หน้าดินแห้งแข็งและจับปึก ซึ่งจะทำให้ดินขาดอากาศออกซิเจน ถ้าดินขาดอากาศเมื่อใด รากแตงโมจะหยุดชะงักการเจริญเติบโตเมื่อนั้น ซึ่งหมายถึงว่าต้นแตงโมจะได้รับน้ำ และธาตุอาหารอยู่ในขอบเขตที่จำกัดไปด้วย ดินที่ขาดน้ำแล้วแห้งแข็งทำให้ขาดอากาศไปด้วยนั้นคือดินเหนียว และดินที่ค่อนข้างหนัก ส่วนดินทรายและดินร่วนทราย รากแตงโมจะไม่ขาดอากาศ แม้ว่าจะขาดน้ำก็ตาม ดินร่วนทรายและดินทรายสามารถไถพรวนในหน้าดินลึกมาก ๆ ได้ เพื่อให้สามารถยึดจับความชื้นที่เราให้ไว้ได้มากขึ้น ส่วนดินเหนียวนั้นไม่สามารถไถพรวนให้ลึก เท่าดินทราย หรือดินร่วนทรายได้ เพราะเนื้อดินทั้งเหนียวและแน่นอุ้มน้ำไว้ในตัวได้มากกว่าดินทราย แต่ก็คายน้ำออกจากผิวดินได้ไวมาก และดูดซับความชื้นได้ตื้นกว่าดินทราย หรือดินร่วนทราย จึงทำให้ต้องให้น้ำกับต้นแตงโมที่ปลูกในดินเหนียวมากกว่า คือต้องให้น้ำอย่างน้อย วันครั้ง หรือรดน้ำทุกวัน ๆ ละครั้ง

การคลุมฟางหรือคลุมพลาสติก
     เมื่อเถาแตงโมเจริญเติบโตได้ระยะหนึ่ง เราควรจะปิดคลุมหน้าดินด้วยฟางหรือพลาสติก การคลุมดินจะมีผลดังนี้ คือ
-     ช่วยรักษาความชุ่มชื้นในดินให้คงอยู่ได้นาน ทำให้รากแตงโมดูดซับธาตุอาหารในดินได้ติดต่อกันโดยไม่ขาดตอน
-     ทำให้ต้นแตงโมเป็นโรคทางใบน้อยลง เพราะต้นและเถาเลื้อยอยู่บนฟางไม่ได้สัมผัสกับดิน
-     ป้องกันไม่ให้ดินร้อนจัดเกินไป
-     เป็นการรองผลทำให้สีของผลสม่ำเสมอ
-     ควบคุมไม่ให้หญ้าขึ้นและเจริญเติบโตมาแข่งกับแตงโม เพราะแตงโมแพ้หญ้ามากเนื่องจากหญ้าส่วนใหญ่มีใบปรกดิน เถาแตงโมนั้นทอดนอนไปกับผิวดิน หากหญ้าขึ้นคลุมแตงโมเมื่อใด หญ้าจะบังใบแตงโมไม่ให้ถูกแดดทำให้ใบแตงโมปรุงอาหารไม่ได้เต็มที่ และจะอ่อนแอลงทันทีในที่สุดจะตายหมด ภายในเวลา2-3 สัปดาห์ เท่านั้น
การจัดเถา
ถ้าปล่อยให้เถาแตงโมเลื้อยและแตกแขนงไปตามธรรมชาติเถาแตงของแต่ละต้นก็จะเลื้อยทับกัน และซ้อนกันจนหนาแน่นทำให้ผลผลิตลดน้อยลง สืบเนื่องมาจากแมลงช่วยผสมเกสรได้ไม่ทั่วถึงเพราะไม่อาจแทรกหาดอกได้ทั้งหมด ฉะนั้น เมื่อเถาแตงโมเจริญเติบโตไปจนมีความยาว 1-2 ฟุต ควรได้มีการจัดเถาให้เลื้อยไปในทางเดียวกันและตัดเถาให้เหลือไว้ต้นละ 4 เถา เถาที่เป็นเถาแขนงก็จะแตกแขนงต่อไปได้อีกเรื่อย ๆ จึงควรริดแขนงที่ไม่จำเป็นเหล่านั้นออก ให้คงเหลือไว้ต้นละ 4 เถา ซึ่งเป็นเถาที่สมบูรณ์ที่สุดไว้ตามเดิม  โดยทำขั้นตอน ดังนี้
1.    การจัดเถาแตงโมให้เลื้อยไปทางเดียวกันและตัดเถาให้เหลือต้นละ 4 เถา ที่แข็งแรง
2.    ใช้ไม้ไผ่เป็นตอกโค้งคร่อมยึดเถาแตงโมไว้
การต่อดอก
ผู้ปลูกแตงโม มักประสบปัญหาแตงโมไม่ติดผล เนื่องจากไม่มีแมลงช่วยผสม เพราะใช้สารฆ่าแมลงฉีดพ่นต้นแตงโมมากไปและไม่เลือกเวลาฉีด ทำให้แมลงที่ช่วยผสมเกสร เช่น ผึ้งถูกสารฆ่าแมลงตายหมด จึงเกิดปัญหาไม่มีผึ้งช่วยผสมเกสรจึงต้องใช้คนผสมแทน เราสามารถผสมพันธุ์แตงโมได้ตั้งแต่เวลา 06.00 น. ถึง10.00 น. หลังจากเวลา 10.00 น. ไปแล้ว ดอกตัวเมียจะหุบและไม่ยอมรับการผสมเกสรอีกต่อไป การผสมด้วยมือทำได้โดยเด็ดดอกตัวผู้ที่บานมาปลิดกลีบดอกสีเหลืองของดอกตัวผู้ออกเสียก่อน จะเหลือแต่อับเรณู ซึ่งมีละอองเกสรตัวผู้เกาะอยู่ทั่วไป จากนั้นจึงคว่ำดอกตัวผู้ลงบนดอกตัวเมียให้อับเรณูของดอกตัวผู้ แตะสัมผัสกับเกสรตัวเมียโดยรอบให้ละอองเกสรตัวผู้สีเหลืองจับอยู่บนเกสรตัวเมียทั่วกันทั้งดอกก็เป็นอันเสร็จสิ้นการผสมซึ่งวิธีนี้ชาวบ้านเรียกว่า "การต่อดอก" โดยทำขั้นตอน ดังนี้
1.    การต่อดอกโดยเด็ดดอกตัวผู้ที่กำลังบานแล้วปลิดกลีบดอกสีเหลืองออกไห้หมด
2.    นำดอกตัวผู้ที่ปลิดกลีบดอกออกแล้วคว่ำลงนดอกตัวเมีย
การเก็บผล
          แตงโมผลแรกที่เกิดจากเถาหลัก ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กและคุณภาพต่ำ เราควรปลิดทิ้งตั้งแต่ลูกยังเล็ก ๆ และแตงที่มีลักษณะผลบิดเบี้ยวก็ควรปลิดทิ้งด้วย ขนาดที่ปลิดทิ้งไม่ควรปล่อยให้โตเกินลูกปิงปอง หรือผลฝรั่ง แตงที่ปลิดทิ้งนี้สามารถขายเป็นผลแตงอ่อนได้ และตลาดยังนิยมอีกด้วย ควรเลี้ยงต้นแตงโมไว้เถาละลูกจะดีที่สุด เถาแตงโมเถาหนึ่ง ๆ อาจติดเป็นผลได้หลายผล ให้เลือกผลที่มีก้านขั้วผลขนาดใหญ่และรูปทรงผลได้รูปสม่ำเสมอทั้งผลไว้ ซึ่งจะทำให้ผลแตงโมมีขนาดใหญ่และมีคุณภาพสูง เพราะขนาดก้านขั้วผลมีความสัมพันธ์กับขนาดของผล ถ้าก้านขั้วผลใหญ่ ผลก็จะใหญ่ ถ้าก้านขั้วผลเล็กผลก็จะเล็ก         
            การดูแลหลังติดผล
ดอกตัวเมียของแตงโม ที่ได้รับการผสมเกสรอย่างสมบูรณ์ก็จะเจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอติดต่อกันไปวันต่อวัน เมื่อผลแตงโมมีขนาดเท่ากับมะนาว ให้ฉีดพ่นเสริมด้วย ไบโอเฟอร์ทิล สูตรเร่งขนาดผล อัตรา 30 ซีซีโบวีรอน อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตรทุก ๆ 5-7 วัน ฉีดต่อเนื่องจนถึงก่อนเก็บเกี่ยว เพื่อเพิ่มขนาด,น้ำหนัก และทำให้เนื้อมีความหวานเป็นที่ต้องการของตลาด เมื่อผลเท่ากะลามะพร้าวให้เอาฟางรองใต้ผล เพื่อไม่ให้ผิวผลสัมผัสกับดินโดยตรง ควรจะกลับผลแตงโมให้ด้านที่สัมผัสฟางถูกแสงแดดก่อนเก็บเกี่ยว 10 วัน เพื่อให้ผลแตงมีสีสม่ำเสมอทั่วทั้งผล จะทำให้แตงโมมีรสหวานมากขึ้นอีก
การเก็บผลแตงโม
แตงโมเป็นพืชชนิดหนึ่ง ที่ผลแก่แล้วไม่แสดงอาการว่าสุกงอมให้เห็นเหมือนผลมะเขือเทศ หรือพริก ซึ่งจะเปลี่ยนสีเป็นสีแดง หรือไม่เหมือนกับมะม่วง ซึ่งทั้งเปลี่ยนสีแล้วยังมีกลิ่นหอมด้วย ฉะนั้นการดูว่าแตงโมแก่เก็บได้หรือยัง จึงต้องพิถีพิถันมากกว่าปกติอีกเล็กน้อย คือ
คาดคะเนการแก่ของผลแตงโมด้วยการนับอายุ ซึ่งขึ้นอยู่กับพันธุ์ของแตงโม และอุณหภูมิของอากาศ
แตงโมพันธุ์เบา (ชูการ์เบบี้ ผลกลมสีเขียวคล้ำ) จะแก่เก็บได้ภายหลังดอกบาน ประมาณ 35-42 วัน
แตงโมพันธุ์หนัก (ชาร์ลสตันเกรย์ผลยาวสีเขียวอ่อนมีลาย) จะแก่เก็บได้ภายหลังดอกบานประมาณ42-45 วัน
คาดคะเนการแก่ของผล ด้วยการดูลักษณะที่พบได้ทั่วไปเมื่อแตงโมแก่
มือเกาะที่อยู่ใกล้กับขั้วของผลมากที่สุดเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและแห้งเป็นบางส่วนจากปลายมาหาโคน วัดความแก่อ่อนของผลแตงโมได้จากการดีดฟังเสียงหรือตบผลเบา ๆ ฟังเสียงดูถ้ามีเสียงผสมกันระหว่างเสียงกังวานและเสียงทึบ แตงจะแก่พอดี (แก่ 75%) มีเนื้อเป็นทรายถ้าดีดแล้วเป็นเสียงกังวานใส แสดงว่าแตงยังอ่อนอยู่ ถ้าดีดแล้วเสียงทึบเหมือนมีลมอยู่ข้างใน แตงจะแก่จัดเกินไปที่ชาวบ้านเรียกว่า "ไส้ล้ม" (แต่วิธีนี้ใช้ไม่ได้กับผลแตงที่เป็นโรคเถาตาย ควรเก็บผลตอนบ่ายไม่ควรเก็บผลตอนเช้าเพราะจะทำให้ผลแตงแตกได้
            สังเกตนวลของผล ถ้าจางลงกว่าปกติแสดงว่าแตงเริ่มแก่
โรคที่ควรระวัง
โรคเถาเหี่ยว(เกิดจากเชื้อฟิวซาเรียม)
แตงโมที่เป็นโรคนี้สีใบจะซีด ใบและเถาจะเหี่ยวจริงบริเวณโคนเถาที่ใกล้กับผิวดิน จะแตกตามยาวและมีน้ำเมือกซึมออกมา เมื่อผ่าไส้กลางเถาดูจะเห็นภายในเป็นสีน้ำตาล โรคนี้จะระบาดมากในช่วงแตงโมออกดอก การปลูกซ้ำที่เดิม โรคนี้จะระบาดรุนแรงมาก
สาเหตุ
-       เชื้อรานี้เจริญและทำลายแตงโมได้ดีที่อุณหภูมิระหว่าง 24 - 27 องศาเซลเซียส
-       ขณะแตงกำลังเจริญเติบโตมีผนตกติดต่อกันยาวนาน
-       การให้ปุ๋ยยูเรียมากเกินไป
-       ดินเป็นกรดจัด
การป้องกันและกำจัด
-       ป้องกันโดยฉีดพ่น ไตรโคแม็ก อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ให้ทั่วบริเวณผิวดิน ก่อนคลุมพลาสติกดำ
-       อย่าปลูกแตงโมซ้ำที่เดิม
-       เริ่มคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยชีวภัณฑ์ป้องกันโรคและเชื้อรา(ปลอดสารพิษ) ไตรโคแม็ก อัตรา 200กรัม ต่อเมล็ดพันธุ์ กิโลกรัม ก่อนนำไปปลูก
-       กรณีดินเป็นกรดจัด ใช้ปูนขาวใส่ดินเพื่อแก้ความเป็นกรดของดิน ในอัตราไร่ละ 500 กิโลกรัม
-       ใช้ชีวภัณฑ์ป้องกันโรคและเชื้อรา(ปลอดสารพิษ) ไตรโคแม็ก อัตรา 80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นซ้ำทุก ๆ 5-7 วัน เพื่อป้องกันและกำจัดโรค  หรือ ใช้สารเคมีโปรคลอราซ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก  ผสมน้ำแล้วฉีดพ่นที่ใบและต้นพืช  เมื่อพบเห็นว่าโรคพืชเริ่มปรากฏ  จะทำให้เชื้อโรคชะงักลง
โรคเถาเหี่ยว(จากเชื้อแบคทีเรีย)
ลักษณะที่มองเห็นในครั้งแรก คือ ใบในเถาจะเหี่ยวลงทีละใบ การเหี่ยวจะเหี่ยวจากปลายเถามาหาโคนเถาในเถาใดเถาหนึ่ง เมื่อเหี่ยวมาถึงโคนเถาก็จะเหี่ยวพร้อมกันหมดทั้งต้น แต่ใบยังคงเขียวอยู่ และพืชตายในทันทีที่พืชเหี่ยวทั้งต้นสาเหตุของการเหี่ยวก็คือเชื้อแบคทีเรียไปอุดท่อส่งน้ำเลี้ยงในต้นแตงโม ถ้าเอามีดเฉือนเถาตามยาวดูจะเห็นว่ากลางลำต้นในเถาฉ่ำน้ำมากกว่า ปกติเชื้อแบคทีเรียนี้อาศัยอยู่ในตัวของแมลงเต่าแตงต้นแตงโมได้รับเชื้อโรคจากการกัดกินใบของแมลงเต่าแดงนี้ เมื่อเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ต้นแตงโมทางแผลที่แมลงเต่ากัดกิน ก็จะเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างรวดเร็ว แล้วก็กระจายตัวเข้าสู่ท่อน้ำและอาหารของแตงโม เราอาจป้องกันและรักษาได้ โดยฉีดสารเคมีคาร์บาริล ป้องกันแมลงเต่าแตงและใช้ยาปฏิชีวนะคาซูกะมัยซิน(ชื่อสามัญ) ฉีดพ่นทุกสัปดาห์ ใช้อัตราส่วนผสมตามที่แจ้งไว้ในซองบรรจุสารเคมีที่จำหน่าย เมื่อพบว่าต้นแตงโมบางส่วนเริ่มเป็นโรคนี้ หรือป้องกันโดย ฉีดพ่น ไตรโคแม็ก อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ให้ทั่วบริเวณผิวดิน
โรคราน้ำค้าง
 ลักษณะที่มองเห็นได้ คือ เกิดจุดสีเหลืองบนหลังใบ และขยายตัวใหญ่ขึ้น จำนวนจุดสีเหลืองเพิ่มปริมาณมากขึ้น และใต้ใบตรงตำแหน่งเดียวกัน จะมีกลุ่มของเชื้อราสีม่วงอมเทาเกาะเป็นกลุ่มอยู่ เชื้อโรคนี้เจริญได้อย่างรวดเร็ว เมื่ออากาศอุ่นและชุ่มชื้น เมื่อใบแก่ตายเชื้อก็จะไปทำลายใบอ่อนต่อไป เมื่อใบแห้งไปหมดแล้ว ผลที่เกิดขึ้นมาก็คือ แตงติดผลน้อยและคุณภาพผลแก่ก็ต่ำด้วย สปอร์ของเชื้อรานี้แพร่ระบาดไปโดยลมและโดยแมลงพวกเต่าแตง สารเคมีที่ใช้ฉีดพ่นได้ผลดี คือ แคปแทน ไซเน็บ(ชื่อสามัญ)  ชนิดใดชนิดหนึ่งอัตราผสมใช้ กรัม ผสมน้ำ 500 ซีซี. (หรือครึ่งลิตร) หรือ 35-40 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร (ปี๊บ)

แมลงศัตรูที่สำคัญ
เพลี้ยไฟทำให้แตงโมใบหงิกและยอดตั้ง (ไอ้โต้ง)
เป็นแมลงชนิดหนึ่งที่มีตัวขนาดเล็กมาก ตัวอ่อนจะมีสีแสด ตัวแก่จะเป็นสีดำ มีขนาดเท่าปลายเข็ม จะดูดน้ำเลี้ยงที่ยอดอ่อนของแตงโม และใต้ใบอ่อนของแตงโม มีผลทำให้ใบแตงโมไม่ขยาย ยอดหดสั้นลง ปล้องถี่ ยอดชูตั้งขึ้นชาวบ้านเรียกโรคนี้ว่า โรคยอดตั้ง บางแห่งก็เรียก โรคไอ้โต้ง เพลี้ยไฟจะบินไปเป็นฝูง มีลักษระเล็กละเอียดคล้ายฝุ่น สภาพฤดูแล้ง ความชื้นในอากาศต่ำลมจะช่วยพัดพาเพลี้ยไฟให้เคลื่อนที่เข้าทำลายพืชผลในไร่ได้รวดเร็วขึ้น ในพืชผักที่ปลูกด้วยกัน เช่น ฟักทอง แตงโม แฟง ฟัก ในไร่ของเกษตรกรถูกเพลี้ยไฟทำลายเสียหายหนัก มีมะระพืชเดียวที่สามารถต้านทานเพลี้ยไฟได้ และเมื่อสวนใดสวนหนึ่งฉีดพ่นยา เพลี้ยไฟจะหนีเข้ามายังสวนข้างเคียงที่ไม่ได้ฉีดสารเคมี การป้องกัน และกำจัดใช้สารเคมีหลายชนิด เช่น แลนเนท เมทไธโอคาร์บ หรืออาจปลูกพืชเป็นกันชน เช่น ปลูกมะระจีนล้อมที่ไว้สัก 2 ชั้น แล้วภายในจึงปลูกแตงโม เพราะมะระขึ้นค้างจะช่วยปะทะการแพร่ระบาดของเพลี้ยไฟให้ลดลงได้ และมะระที่โดนเพลี้ยไฟเข้าทำลายจะต้านทานได้ และเสียหายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
แมลงเต่าแตง
เป็นแมลงปีกแข็งชนิดหนึ่ง ที่ชอบกัดกินใบแตงขณะยังอ่อนอยู่ ลักษณะตัวยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ปีกสีเหลืองปนส้ม จะกัดกินใบแตงขาดเป็นวง ๆ ตามปกติเต่าแตงลงกินใบอ่อนต้นแตงโมหรือพืชพวก ฟัก แฟง แตงกว่า อื่น ๆ มักจะไม่ทำความเสียหายให้กับพืชมากนัก แต่จะเป็นพาหะนำเชื้อโรคเถาเหี่ยวของแตงโมซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียมาสู่แตงโมของเรา จึงต้องป้องกันกำจัดโดยฉีดพ่นด้วยสารเคมีเซฟวิน 85 ในอัตรา 20-30 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดในระยะทอดยอด ฉีดคลุมไว้ก่อนสัปดาห์ละครั้งโดยไม่ต้องรอให้แมลงเต่าแตงลงมากินเสียก่อน แล้วค่อยฉีดในภายหลัง ซึ่งจะทำให้ป้องกันโรคเถาเหี่ยวของแตงโมไม่ทัน (การใช้ไบโอเฟอร์ทิล จะช่วยลดปริมาณการเข้าแปลงของแมลงเต่าแตงได้ประมาณ 50%)
แมลงวันทอง
          แมลงวันทอง มักจะเข้าทำลายวางไข่ที่ผลแตงโม ในช่วงสร้างเนื้อ ทำให้เสียหายมาก  การฉีดพ่นยาฆ่าแมลงค่อนข้างได้ผลน้อย เนื่องจากเป็นแมลงที่เคลื่อนที่ได้เร็ว  การใช้ไบโอเฟอร์ทิล สูตรไล่แมลง เป็นประจำ สามารถลดการเข้ามาทำลายในแปลงได้ประมาณ 80%(ข้อมูลจากเกษตรกรผู้ใช้)  ให้ฉีดพ่นร่วมกับชีวภัณฑ์กำจัดแมลง(ปลอดสารพิษ) "เมทาแม็ก" อัตรา 40-80 กรัมทุก ๆ 5-7 วันเมื่อพบการระบาด เพื่อป้องกันและกำจัด จะได้ผลดีมาก
ข้อเปรียบเทียบหลังจากใช้ไบโอเฟอร์ทิล ตามคำแนะนำเป็นประจำ        
1.    แตงโมเจริญเติบโตดี แข็งแรง ทนต่อโรค
2.    ติดดอกง่าย ขั้วผลเหนียว แบกผลผลิตได้มาก
3.     แมลงศัตรูพืชที่เข้ามารบกวนลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะจำพวกผีเสื้อกลางคืนซึ่งเป็นตัวแม่ของหนอนชนิดต่าง ๆ รวมถึงแมลงวันทอง และด้วงกัดกินใบ  ทำให้ประหยัดต้นทุนยากำจัดศัตรูพืช และลดความเสียหายได้ดีกว่า  (ในพื้นที่ที่มีการระบาดมาก หากใช้ไบโอเฟอร์ทิล ฉีดร่วมกับยากำจัดศัตรูพืช ก็จะทำให้สามารถคุมและป้องกันการเข้าทำลาย ได้นานขึ้น)
4.    เนื้อผลมีรสชาติดี โดยไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยเม็ดเพื่อแต่งรสหวานก่อนเก็บเกี่ยว
5.    สุขภาพผู้ปลูกดีขึ้น เนื่องจาก สัมผัสหรือจับต้องสารเคมีน้อยลง
6.     ใช้ ยักษ์เขียว  ร่วมด้วย  จะทำให้ต้นทุนปุ๋ยและสารทางดินต่อชุดการผลิต ลดลงได้ประมาณ 30-50 % โดยที่ผลผลิตที่ได้ยังเป็นปกติหรือดีกว่าเดิม และสังเกตได้ว่าสารอินทรีย์ในเนื้อปุ๋ยทำให้สภาพดินดีขึ้น  ดินโปร่ง อุ้มน้ำได้ดี  ต้นทนแล้งได้ดีขึ้น  และพืชตอบสนองต่อการให้ปุ๋ยทางดินดีกว่าเดิม ในระยะยาวปัญหาเรื่องโรคทางดินน้อยกว่าแปลงข้างเคียงที่ไม่ได้ใช้ ผลในทางอ้อม เนื่องจาก ยักษ์เขียว เป็นสารอินทรีย์แท้ จึงกระตุ้นจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ให้ย่อยปุ๋ย(เคมี)ที่ตกค้างในดินทำให้รากพืชสามารถดูดซึมกลับไปใช้ได้ ธาตุอาหารในดินจะสมดุลมากกว่า


ที่มา :phkaset.com